หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
1.รหัสและชื่อรายวิชา
209363 นิทานพื้นบ้านภาษาญี่ปุ่น
Japanese Folklores

2.จํานวนหน่วยกิต
3 หน่วยกิต (3-0-6)

3.หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น กลุ่มวิชาเอกเลือก

4.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์พุทธรักษ์ เกตุเอม ผู้สอน/P1 P2

5.ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 2/2565 / P1 ภาษาญี่ปุ่น ชั้นปีที่ 2 และ P2 ทุกชั้นปี

6.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
-

7.รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี

8.สถานที่เรียน
ห้อง 36.07.08 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

9.วันที่จัดทําหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
13 ธันวาคม 2565

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1.จุดมุ่งหมายของรายวิชา

(1)เพื่อให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ มีวินัย
(2)เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง และมีความรู้ ความ
เข้าใจลักษณะเฉพาะของภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น และสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาษา
และวัฒนธรรมญี่ปุ่นกับภาษาและวัฒนธรรมไทยได้
(3)เพื่อให้นักศึกษาคิดเชิงวิเคราะห์ได้อย่างเป็นระบบ และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการศึกษา
ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
(4)เพื่อให้นักศึกษาสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(5)เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์
แปลความได้อย่างเหมาะสม3

2.จุดประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
1. ปรับปรุงเนื้อหาของรายวิชาให้ทันสมัยโดยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่ได้มีการสอบถาม
นอกชั้นเรียน เฃ่น อาจเปลี่ยนจากกระแส J-Horror เป็น Asian Zombies ที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบันแทน

2. ปรับปรุงข้อสอบหรือแบบทดสอบโดยเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบข้อสอบหรือแบบทดสอบให้มากขึ้น

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดําเนินการ
1.คําอธิบายรายวิชา
ทฤษฎีการศึกษานิทานพื้นบ้านเบื้องต้น การอ่านนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น การวิเคราะห์ แนวคิดดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นที่
ปรากฏในนิทานพื้นบ้าน และการเปรียบเทียบกับ นิทานพื้นบ้านของไทย รวมทั้งการเปรียบเทียบข้อแตกต่าง
ของแนวคิดของญี่ปุ่นและไทย

2.จํานวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
(1) บรรยาย     30 (2 X 15) คาบเรียน
(2) สอนเสริม   ตามความต้องการของนักศึกษา
(3) การฝึกปฏิบัติ - คาบเรียน
(4) การศึกษาด้วยตนเอง 90 (6 X 15) คาบเรียน

3.จํานวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คําปรึกษาและแนะนําทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
ตามความต้องการของนักศึกษา